
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผสานความร่วมมือกับ AIS ผู้ให้บริการเครือข่ายดิจิทัลของประเทศ ขับเคลื่อนภารกิจสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยมิจฉาชีพออนไลน์ให้กับประชาชน ผ่านการส่งเสริมทักษะทางดิจิทัลและความรู้เท่าทันภัยทางการเงิน เพื่อยกระดับความปลอดภัยทั้งในด้านการใช้งานบนโลกออนไลน์และการทำธุรกรรมทางการเงิน

โดยการทำงานเชิงรุกในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่อย่างกลุ่มคัลเลอร์การ์ดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการลงพื้นที่ติดอาวุธเสริมภูมิคุ้มกันภัยบนโลกออนไลน์ เพื่อสร้างสุขภาวะดิจิทัลในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ทั้ง ตำรวจไซเบอร์ และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) พร้อมย้ำเป้าหมายความร่วมมือที่จะร่วมสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยและยั่งยืนให้กับคนไทย

ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ ธปท. และ AIS จะร่วมกันทำงานเชิงรุก ใช้พลังของการสื่อสารให้ประชาชน “ตระหนักรู้หรือรู้เท่าทัน” (Self-Awareness) และ “ป้องกันตนเองจากภัยไซเบอร์” (Self-Protection) อาทิ
- การจัดทำสื่อด้าน Cybersecurity เผยแพร่ผ่าน Social Media Platform รวมถึง Online Learning Platform เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับการใช้งานดิจิทัลและบริการทางการเงินอย่างปลอดภัย
- การดึงศักยภาพของคนรุ่นใหม่มาร่วมสร้างสังคมอุ่นใจห่างไกลภัยไซเบอร์ กับโครงการ “CU TU Cyberguard
พลังสองสถาบันต้านภัยไซเบอร์” กิจกรรมที่จะร่วมสนับสนุนกลุ่มคัลเลอร์การ์ดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้มีทักษะดิจิทัลและรู้เท่าทันภัยทางการเงินเพื่อส่งต่อให้กับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ โดยนำร่องจากโรงเรียนคลองใหญ่วิทยาคม อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นอีกก้าวสำคัญของการขยายเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน ของ ธปท. ในการสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยทุจริตทางการเงินให้กับประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งเป็นการย้ำจุดยืนว่า ธปท. ตระหนัก และให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาภัยทุจริตทางการเงินอย่างครบวงจร
นอกเหนือจากการออกมาตรการทั้งของ ธปท.เอง และที่ร่วมมือกับสถาบันการเงินและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ธปท. มุ่งหวังว่าความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงานครั้งนี้ จะช่วยสร้างความตระหนักรู้และเท่าทันต่อภัยทุจริตทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องให้กับประชาชน ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญไม่ให้ตกเป็นเหยื่อได้อย่างยั่งยืน”

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวเสริมว่า “ที่ผ่านมา AIS มุ่งเป็นแกนกลางของสังคมในการสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ ผ่านแนวคิดการทำงานตั้งแต่การสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ในการติดตาม ตรวจสอบ และดำเนินการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับกลุ่มมิจฉาชีพ
การพัฒนาเครื่องมือด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ลูกค้าและประชาชนใช้ปกป้องการใช้งาน และการสร้างทักษะการใช้งานดิจิทัลในโครงการ อุ่นใจไซเบอร์ ที่จะช่วยให้รู้เท่าทัน ภัยไซเบอร์และมิจฉาชีพได้ ซึ่งการทำงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะทำให้ภารกิจในการยกระดับ Digital Wellness และ Financial Literacy รวมถึงการป้องกันภัยไซเบอร์ของประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น
เราเชื่อว่าด้วยความตั้งใจของทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ จะเป็นการสอดประสานการทำงานให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ และจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยใช้งานดิจิทัลอย่างปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ”


AIS ลุยทดสอบเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast บนมือถือ Android และ iOS ในศูนย์ปฏิบัติการฯ ได้อย่างสมบูรณ์
AIS เปิดตัว SIM2Fly และ Ready2Fly แพ็กใหม่ เน็ตจุใจ ใช้ได้นาน และต่อเนื่องบนเครื่องบิน พร้อมสิทธิพิเศษพันธมิตรชั้นนำ
AIS ประเดิมมอบทองคำให้ผู้โชคดีรอบแรก จากแคมเปญ “AIS Check ID” ชวนลูกค้ายืนยันตัวตน
AIS ยืนยันความพร้อม Cell Broadcast และ SMS ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมส่งทันทีเมื่อหน่วยงานรัฐมีคำสั่ง
AIS Secure Net บล็อกเว็บไซต์อันตรายแล้วกว่า 500 ล้านครั้ง! ลูกค้า AIS ทั้งมือถือและเน็ตบ้าน ใช้งานฟรี!